บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

1. กลุ่มงานปกครอง แบ่งงานภายในออกเป็น 5 ฝ่าย คือ

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริการทั่วไป งานธุรการ และงานสารบรรณของที่ทำการปกครองจังหวัด

(2) อำนวยการ ประสานงานและให้คำปรึกษาแนะนำในการบริหารการของที่ทำการปกครองอำเภอและกิ่งอำเภอ

(3) สนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอ และที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการกรมการปกครอง

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอและหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายบริหารงานปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานปกครองท้องที่ การบริหารงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน

(2) ดำเนินการทางด้านการทะเบียนและรับผิดชอบการดำเนินการตามหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนจังหวัด และควบคุมดูแลปฏิบัติงานด้านการทะเบียนและบัตรของสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักของชนกลุ่มน้อยและคนต่างด้าวอื่น

(3) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองในส่วนของบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร การจัดทำทะเบียนประวิติและบัตรประจำตัวในส่วนของชนกลุ่มน้อยและคนต่างด้าวอื่น

(4) ดูแลการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทย เพื่อการทำงาน

(5) ดำเนินการสนับสนุนการเลือกตั้งทุกระดับ

(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอและหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายการอนุญาตทางการปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ โรงแรม โรงรับจำนำ อาวุธปืน การค้าของเก่า และขายทอดตลาด การพนัน การเรี่ยไร มูลนิธิ สมาคม และกฎหมายอื่นๆ ในความรับผิดชอบของกรมการปกครองตามที่กฎหมายกำหนด

(2) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

(3) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ที่ดินสาธารณะ และการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอและหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

1.4 ฝ่ายประสานแผนยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด การส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอและการจัดทำข้อมูลเพื่อการบริการและพัฒนาพื้นที่จังหวัดแบบบูรณาการ

(2) ดำเนินการประสานแผนพัฒนาระดับต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดรวมทั้ง แผนพัฒนาของหน่วยต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัด

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.)

(4) ดูแลรักษาระบบการสื่อสารข้อมูลของกรมการปกครอง ทั้งเครือข่ายภายใน (Intranet) และเครือข่ายภายนอก (Internet) ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารงานปกครอง

(5) ดำเนินการเกี่ยวกับการบันทึกและการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศในความรับผิดชอบของกรมการปกครองเพื่อรายงานผลให้กับส่วนกลาง

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงฐานข้อมูลสารสนเทศในความรับผิดชอบของกรมการปกครองการบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อจัดทำเป็นศูนย์ข้อมูลจังหวัด

(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

1.5 ฝ่ายกิจการพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งภารกิจของส่วนราชการอื่นที่ไม่มีหน่วยรับผิดชอบในระดับพื้นที่

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตามที่ได้รับมอบหมาย

(3) สนับสนุนและประสานงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์ช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยในจังหวัด

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงในพื้นที่

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

2. กลุ่มงานความมั่นคง แบ่งงานภายในออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

2.1 ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และการจัดระเบียบสังคม

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจการอาสารักษาดินแดน

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมหรือที่ได้รับมอบหมาย

(4) ปฏิบัติร่วมกับหรือการป้องกันหรือสนับสนุนการปราบปรามยาเสพติดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมหรือที่มอบหมาย

2.2 ฝ่ายรักษาความมั่นคงภายใน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจการมวลชน

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการข่าว และด้านการสื่อสาร

(3) ดำเนินการเปลี่ยนกับงานกิจการชายแดน งานกิจการผู้อพยพและชนกลุ่มน้อย

(4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอและหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

3. ฝ่ายการเงินและบัญชี มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการด้านการเงิน การบัญชี

(2) จัดทำแผนการตรวจสอบด้านการคลัง การบัญชี การเงิน การพัสดุ ของกลุ่มงาน/ฝ่ายต่างๆ ของจังหวัด/ที่ทำการปกครองจังหวัด ที่ทำการปกครองอำเภอ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ และการจัดวางระบบการควบคุมภายใน

(3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอและหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

4. กลุ่มอำนวยความเป็นธรรม แบ่งแบ่งงานออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

4.1 ฝ่ายอำนวยความเป็นธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับควบคุม กำกับ ดูแล การรายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยความเป็นธรรมอำเภอไปยังกรมการปกครอง

(2) ประสานการดำเนินงานกรณีประชาชนร้องเรียน ร้องทุกข์ ขอความเป็นธรรม

(3) แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่

(4) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครองและสนับสนุนเกี่ยวกับศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ

(5) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานชันสูตรพลิกศพของพนักงานฝ่ายปกครองและสนับสนุนการปฏิบัติงานชันสูตรพลิกศพของอำเภอ ตลอดจนรวบรวมผลการชันสูตรพลิกศพในเขตจังหวัดไปยังกรมการปกครอง

(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ และหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

4.2 ฝ่ายนิติการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณา วินิจฉัย เรื่องร้องร้องทุกข์และการอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับคุณสมบัติ การออกจากตำแหน่ง วินัย ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน

(2) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่อำเภอเกี่ยวกับการเลือก การดำรงตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการกลางหมู่บ้าน อพป. การออกจากตำแหน่งและการดำเนินการอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการคัดเลือกกำนัน พ.ศ. 2551 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2551 กำหนดและเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ การอุทธรณ์ และการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำในสังกัดกรมการปกครอง

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และติดตามผลการดำเนินการทุจริตทางทะเบียนราษฎร ทะเบียนทั่วไป และทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน รวมถึงการสอบสวน การพิจารณา การวินิจฉัย เรื่องการทุจริตทางทะเบียน

(5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานคดีปกครองและงานวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด คดีล้มละลาย คดีแพ่งและคดีอาญา

(7) ดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งไม่ฟ้องและไม่อุทธรณ์คดีในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด

(8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ และหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์ (Vision)

การบริหารราชการในระดับพื้นที่มีความเข้มแข็ง เพื่อความมั่นคงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ค่านิยม (Core Value)

บำบัดทุกข์ บำรุงสุข

พันธกิจ (Mission)

1. บูรณาการการบริหารราชการ การปกครองท้องที่ อำนวยความเป็นธรรม การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในทุกระดับในพื้นที่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน นโยบายรัฐบาล การพัฒนาประเทศ และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ

2. ปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติและการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพ

3. อำนวยการบังคับใช้กฎหมายในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน การอำนวยความเป็นธรรมในภารกิจกรมการปกครอง

4. บริการประชาชนด้านงานทะเบียนราษฎร บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนทั่วไปและทะเบียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน

5. บริหารจัดการระบบเทคโนโลยีการปฏิบัติงาน การบริการ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง ให้มีคุณภาพ เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างบูรณาการของภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการเชื่อมโยง ฐานข้อมูลระหว่างประเทศ

6. พัฒนาองค์กรให้มีสมรรถนะสูง บนฐานธรรมาภิบาล

7. ส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของฝ่ายปกครองในการประสานงาน สนับสนุนและการตรวจสอบ กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการระดับภูมิภาค

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)

1. การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง

2. การรักษาความสงบเรียบร้อยและอำนวยความเป็นธรรมให้สังคมสงบสุข

3. การเสริมสร้างความมั่นคงภายในทุกระดับในพื้นที่ให้เข้มแข็ง มีเอกภาพ

4. การพัฒนาระบบบริการและข้อมูลบุคคลให้ทันสมัย มีคุณภาพ เพื่อความมั่นคงและการพัฒนาประเทศ

5. การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ยึดหลักธรรมาภิบาล และพัฒนาบุคลากรให้มีส มรรถนะสูง

ประวัติกรมการปกครอง

 

           กระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2435มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นเสนาบดีรับผิดชอบงานมหาดไทยหรืองานการปกครองประเทศและได้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหมให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกันโดยให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดเพียงกระทรวงเดียว

          กระทรวงมหาดไทยเมื่อแรกตั้งแบ่งออกเป็น 3 กรม มีชื่อเรียกตามทำเนียบเดิมแต่ให้มีหน้าที่ต่างกัน คือ

               •กรมมหาดไทยกลางเป็นพนักงานทำการทุกอย่าง ซึ่งมิให้แยกออกไปเป็นหน้าที่กรมอื่น

              •กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกการปราบปรามโจรผู้ร้ายกับแผนกอัยการรวมทั้งการเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ (แต่ภายหลังโอนการที่เกี่ยวกับต่างประเทศไปเป็นหน้าที่ปลัดทูลฉลอง)

              •กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกปกครองท้องที่

         สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคได้ กำหนดรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า "เทศาภิบาล" ขึ้นมาใช้และได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแลโดยจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นมณฑล เมืองและอำเภอโดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้น ๆ และมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานในระดับตำบลและหมู่บ้าน  กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังจึงเป็นต้นกำเนิดของกรมการปกครองซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อและปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในมาเป็นลำดับ ดังนี้

        •พ.ศ. 2458กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือกรมปกครองและกรมฝ่ายเหนือ

        •พ.ศ. 2459 กรมพลำภังมีส่วนราชการย่อย คือกรมปกครองท้องที่และกรมการเมือง

        •พ.ศ. 2460กรมปกครองมีส่วนราชการ2แผนกคือแผนกปกครองท้องที่และแผนกการเมือง

        •พ.ศ. 2466กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือกรมปกครอง และกรมการเมือง

        •พ.ศ. 2467กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ การภายในกรมภายนอก และกรมทะเบียน

        •พ.ศ. 2469กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมปกครอง กรมทะเบียนและกรมราชทัณฑ์

          หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยแล้วในปี พ.ศ. 2476   กรมพลำภังได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมมหาดไทยต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "กรมการปกครอง" จนถึงปัจจุบัน 

ที่ทำการปกครองจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ที่ทำการปกครองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000

กลุ่มงานปกครอง โทร./โทรสาร 0 5361 2198 งานทะเบียน โทร. 0 5361 3513 Hotline โทร 26929

กลุ่มงานความมั่นคง โทร./โทรสาร 0 5361 1327 ศอ.ปส.จ.มส โทร. 0 5361 4436 สายด่วน โทร 198 สายด่วน กอ.รมน. 1374 Hotline โทร 26934

กลุ่มงานการเงินและบัญชี โทร./โทรสาร 0 5361 1450 Hotline โทร 26935